ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่จังหวัด? กี่อำเภอ? กี่ตำบล? และกี่หมู่บ้าน? | |
จังหวัดบึงกาฬ ได้มีพรบ.เป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ให้เป็นจังหวัดถ้านับให้เป็นปัจจุบันก็เป็น 76 จังหวัด กับอีก 1 เขตปกครองพิเศษ (กรุงเทพมหานคร) เพราะกรุงเทพไม่ใช่จังหวัด จำไว้ให้ดีน่ะครับ กรุงเทพมินับและไม่ถือว่าเป็นจังหวัด มีอำเภอทั้งหมด 878 อำเภอ โดยอำเภอล่าสุดอยู่ที่ เชียงใหม่ ชื่อกัลยานิวัฒนา(พิมพ์ผิดขออภัยด้วย) 76 + 1 จังหวัด 878 อำเภอ
- 75 จังหวัด ( ไม่นับรวม กทม. เป็นจังหวัด เพราะ กทม. เป็นท้องถิ่นพิเศษ )
- 877 อำเภอ - 7,255 ตำบล - 72,944 หมู่บ้าน - 1,276 เทศบาล ( 23 นคร, 129 เมือง, 1124 ตำบล ) - 6,500 อบต. - 2 ท้องถิ่นพิเศษ ( กทม. + พัทยา ) 1. กระบี่ 2. กาญจนบุรี 3. กาฬสินธุ์ 4. กำแพงเพชร 5. ขอนแก่น 6. จันทบุรี 7. ฉะเชิงเทรา 8. ชลบุรี 9. ชัยนาท 10. ชัยภูมิ 11. ชุมพร 12. เชียงราย 13. เชียงใหม่ 14. ตราด 15. ตรัง 16. ตาก 17. นครนายก 18. นครปฐม 19. นครพนม 20. นครราชสีมา 21. นครศรีธรรมราช 22. นครสวรรค์ 23. นนทบุรี 24. นราธิวาส 25. น่าน 26. บุรีรัมย์ 27. ปทุมธานี 28.ประจวบคีรีขันธ์29. ปราจีนบุรี 30. ปัตตานี 31. พระนครศรีอยุธยา 32. พะเยา 33. พิจิตร 34. พิษณุโลก 35. เพชรบูรณ์ 36. เพชรบุรี 37. แพร่ 38. พังงา 39. พัทลุง 40. ภูเก็ต 41. มุกดาหาร 42. มหาสารคาม 43. แม่ฮ่องสอน 44. ยะลา 45. ยโสธร 46. ร้อยเอ็ด 47. ระนอง 48. ระยอง 49. ราชบุรี 50. ลพบุรี 51. ลำปาง 52. ลำพูน 53. เลย 54. ศรีสะเกษ 55. สกลนคร 56. สงขลา 57. สตูล 58. สมุทรสาคร 59. สมุทรสงคราม 60. สมุทรปราการ 61. สระแก้ว 62. สระบุรี 63. สิงห์บุรี 64. สุโขทัย 65. สุพรรณบุรี 66. สุราษฎร์ธานี 67. สุรินทร์ 68. หนองคาย 69. หนองบัวลำภู 70. อ่างทอง 71. อุบลราชธานี 72. อุทัยธานี 73. อุดรธานี 74. อุตรดิตถ์ 75. อำนาจเจริญ
76 จังหวัด(รวม จ.บึงกาฬ ไปแล้ว) .. ไม่นับรวม กรุงเทพ .. ในทางกฏหมาย
ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 75 จังหวัด โดยที่ไม่นับกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัด; 877 อำเภอ (50 เขตในกรุงเทพมหานคร) และ 7,255 ตำบล และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดย "สุขาภิบาล" นั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดในปี พ.ศ. 2542
ส่วนกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม ถูกเรียกเป็นเขตที่เรียกว่า "กรุงเทพมหานครและปริมณฑล" |
ประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การแบ่งภูมิภาค
การแบ่งภูมิภาค สำหรับงานจัดทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ของราชบัณฑิตยสถานยึดถือตามการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ การแบ่งดังกล่าวนี้ ได้อาศัยเกณฑ์ในด้านลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ แต่ก็ได้นำลักษณะทางด้านภูมิอากาศ วัฒนธรรมด้านเชื้อชาติ ภาษา และความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภูมิภาค คือ
๑. ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา
๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา
ที่มา http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378
การแบ่งตามภูมิภาคของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ใช้หลักเกณฑ์สอดคล้องกับการแบ่งภาคของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ภาคกลาง ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง รวม 18 จังหวัด และชายฝั่งทะเลตะวันออกอีก 4 จังหวัด คือ จ.จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว รวม 7 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี รวม 19 จังหวัด
ภาคใต้ ประกอบด้วย จ.กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 14 จังหวัด
ภาคเหนือ ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รวม 17 จังหวัด
ที่มา http://www.tat.or.th/thaidetail.asp?id=11
การแบ่งเขตการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งออกเป็น 13 เขต คือ
เขต 1 จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ
เขต 2 จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
เขต 3 จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
เขต 4 จังหวัดภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา และระนอง
เขต 5 จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี
เขต 6 จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อุทัยธานี
เขต 7 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบุรี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์
เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ และพะเยา
เขต 9 จังหวัดอุดรธานี เลยขอนแก่น หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู
เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ มหาสารคาม
เขต 11 จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
เขต 12 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ตราด
เขต 13 จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เขต 1 จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ
เขต 2 จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
เขต 3 จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
เขต 4 จังหวัดภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา และระนอง
เขต 5 จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี
เขต 6 จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อุทัยธานี
เขต 7 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบุรี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์
เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ และพะเยา
เขต 9 จังหวัดอุดรธานี เลยขอนแก่น หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู
เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ มหาสารคาม
เขต 11 จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
เขต 12 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ตราด
เขต 13 จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก] แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาใน พ.ศ. 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทย ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และประเทศไทยปกครองแบบเผด็จการทหาร
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 32 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงต้นกรุงประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนรัฐบาลทหารในยุคนั้นเป็นอย่างมาก และแม้ประเทศไทยจะเริ่มเปลี่ยนมาสู่ยุครัฐบาลของพลเรือน แต่ความเสถียรภาพของระบบการเมืองการปกครองไทยยังคงขาดความต่อเนื่องอันมีปัญหามาจากการแทรกแซงโดยกองทัพจวบจนปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)